วันพุธที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

นำเสนอ

พวกเราภูมิใจนำเสนอ โครงงานจับฉ่ายนี้

ทุกคนคงสงสัยเเล้วล่ะสิ ว่าชื่อโครงงานนี้ มีที่มาเเละความหมายอย่างไร

จับฉ่าย เป็นชื่ออาหารชนิดหนึ่งที่ประกอบไปด้วยผักเเละเนื้อหลากหลายชนิดต้มรวมๆกัน
โครงงานของพวกเรามีลักษณะเหมือนกับจับฉ่าย คือนำเอา เทคโนโลยีใหม่ ความรู้ สาระต่างๆมากมายมาไว้รวมกันในโครงงานนี้ เพื่อให้ผู้อ่านทุกท่านได้รับความรู้ ผ่านสื่ออันทันสมัยคือเว็บบล็อกเเละ นำเสนอในรูปแบบที่สวยงามคือ power point

หวังว่าทุกๆท่านจะได้รับความรู้ควบคู่ไปกับความเพลิดเพลินจากบล็อกเเละโครงงานของพวกเรานะคะ

ความรู้สึกในการทำโครงงาน

พวกเราได้รับความรู้เเละประสบการณ์ต่างๆมากมาย รู้จักการเเก้ปัญหาเเละวิธีการทำงานที่ถูกต้องเเละมีประสิทธิภาพ

ขอบอกว่า เหนื่อยมากๆแต่พวกเราก็ล้วนพยายามทำโครงงานนี้ด้วยความตั้งใจมากๆนะค่ะ
แม้ว่าอาจจะมีความเห็นไม่ลงรอยกันบ้างแต่เราก็ร่วมมือกันผ่านมันมาได้ด้วยดีแล้ว
การทำโครงงานในครั้งนี้ถือเป็นความทรงจำที่ดีสำหรับพวกเรา
ผลงานที่ออกมาพวกเราภูมิใจและพอใจกับผลงานนั้นมาก
พวกเราหวังว่าคุณผู้อ่านคงได้รับประโยชน์จากโครงงานนี้ไม่มากก็น้อย
หากมีข้อผิดพลาดประการใด ผู้จัดทำก็ขออภัยมา ณ ที่นี้
(หวังว่าผู้อ่านที่น่ารัก+สวย+หล่อ+ใจดี จะให้อภัยนะค่ะ)

วันอังคารที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

ICT จับมือ SIPA ส่งเสริมโอเพ่นซอร์สในภาครัฐ

________________________________________

และแล้วขณะที่ข้าพเจ้ากำลังเล่นเน็ตอย่างเมามันก็ได้ไปเจอะข่าวนี้เข้า

เฮ้ยมันน่าสนใจมากๆเลย

ก็เลยคิดว่าจะเอามาลงบล็อก

เรื่องซอฟแวร์นี่มันไม่เข้าใครออกใครจริงๆ

เพราะทุกๆวันนี้ซอฟแวร์เป็นส่วนประกอบหนึ่งของคอมพิวเตอร์ที่สำคัญจริงๆ

และพวกเราก็ขาดมันไม่ได้สะด้วย!

เอาละมาดูกันเลยทุกคน

นายธานีรัตน์ ศิริปะชะนะ ผู้ตรวจราชการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที)
กล่าวเนื่องในโอกาสเป็นประธานเปิดการสัมมนาเรื่อง “แผนการส่งเสริมการใช้ซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สในภาครัฐ” ว่า
ซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์ส (Open Source Software - OSS ซอฟต์แวร์ที่เปิดเผยหลักการหรือแหล่งที่มาของเทคโนโลยีของซอฟท์แวร์นั้นให้บุคคลภายนอกได้ใช้) มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากในช่วงหลายปีที่ผ่านมา อันจะเห็นได้จากปัจจุบันที่ผู้ใช้สามารถใช้ซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สได้กับอุปกรณ์หลากหลายรูปแบบ อาทิ
PC, Notebook, Pocket PC, PDA เป็นต้น ทำให้อุปกรณ์ต่าง ๆ เหล่านี้มีราคาถูกลง และคนส่วนใหญ่ก็สามารถซื้อหามาเป็นเจ้าของได้ นอกจากนั้น ซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สยังส่งเสริมให้เกิดการสร้างนวัตกรรมและการพัฒนาที่ยั่งยืน
โดยจะเห็นว่า ประเทศทั่วโลกต่างก็ให้ความสนใจและดำเนินนโยบายสนับสนุนการใช้ประโยชน์จากซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สกันอย่างจริงจัง และหากพิจารณาถึงแนวคิดของซอฟต์แวร์ประเภทนี้
ก็จะเห็นได้ว่ามีความสอดคล้องกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คือ หลักความพอประมาณ หลักความมีเหตุมีผล และหลักการพึ่งพาตนเอง.

หลังจากได้อ่านแล้วข้าพเจ้ารูสึกดีจริงๆที่เดี๋ยวนี้ซอฟแวร์มีการประยุกต์มีการประยุกต์เข้ากับเศรษฐกิจพอเพียง

RFID RFID

วันนั้นอาจารย์สอนอะไรก็ไม่รู้อาจารย์อะไรก็ไม่รู้ด้วย

ได้พูดเรื่องทีเขาจะเอาสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆมาใช้แทนบาร์โค้ด

เราเคยเห็นมันเช่นตอนที่ไปซื้อเกมส์(ของแท้)หรือไม่ก็รองเท้าที่แพงๆ

เขาบอกว่ามันใช้งานดีมากๆเลย

เพียงแค่เอาของผ่านเครื่องแสกนโดยไม่ต้องเอาไปจ่อแบบบาร์โค้ด มันก็บันทึกข้อมูลแล้ว

แต่ว่าราคาแพงมันก็เลยไม่ค่อยเอามาใช้กัน

เราสนใจเรื่องนี้ก็เลยไปหาความรู้มาเพิ่มเทคโนโลยีใหม่

RFID RFID เป็นเทคโนโลยีที่อาศัยคลื่นวิทยุสื่อสารในการระบุสิ่งของสัตว์เลี้ยง
หรือแม้แต่บุคคลซึ่งนับได้ว่าเป็นแถบป้ายอิเล็กทรอนิกส์ ที่สามารถส่งข้อมูลต่างๆไปยังอุปกรณ์ภาครับได้ ทั้งนี้ถือเป็นวิวัฒนาการเทคโนโลยีในการติดตามและระบุชี้สิ่งของที่เริ่มจากการผูกผ้าริบบิ้นสีต่างๆการติดป้ายชื่อ มาเป้นการใช้บาร์โค้ดที่มีใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบันและในอนาคตอันใกล้นี้ก็จะถูกแทนที่โดย RFID ซึ่งเป็นอุปกรณ์ชิพอิเล็กทรอนิกส์ขนาดเล็กที่สามารถบรรจุข้อมูลต่างๆลงไป ประโยชน์มากมายที่เทคโนโลยีอย่าง RFID สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ในทุกโอกาส แต่ที่เห็นได้อย่างชัดเจนก็คือการนำมาใช้ในการติดตามสิ้นค้าแทนการใช้บาร์โค้ด
ทั้งนี้เนื่องจากว่าเทคโนโลยี RFID สามารถส่งข้อมูลไปยังเครื่องรับได้โดยไม่จำเป็นต้องนำไปจ่อในมุมที่เหมาะสมอย่างการใช้เครื่องอ่าน บาร์โค้ด

เอ่อเห็นว่ามันมีเนื้อหาน้อยใช่มั้ย

เราก็หาได้แค่นี้แหละ

555+++

โฮมเน็ตเวิร์ก

โฮมเน็ตเวิร์ก

เพื่อนๆรู้จักโฮมเน็ตเวิร์กมั้ย

ตอนที่อ่านเรื่องนี้ในอินเตอร์เนตแล้วแบบว่า

โอ้โห สุดยอด!!

ภาพของบ้านแบบนี้ที่นึกคิด เราคิดว่าคงมีอีก50-100ปีข้างหน้าเลย

แต่ก็นึกถึง เดอะ โร้ด อะเฮด ก็เลยนึกได้ส่าปัจจุบันก็คงมีแล้ว

มันเป็นบ้านที่ทันสมัยมากๆเลย

พร่ำมาตั้งนานบางคนยังไม่รู้เลยว่าโฮมเน็ตเวิร์กคืออะไรจะอธิบายให้ฟัง
โฮมเน็ตเวิร์ก เป็นการเชื่อมต่ออุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทุกชิ้นภายในบ้านไม่ว่าจะเป็น ทีวี วิทยุ เครื่องซักผ้า ตู้เย็น เตาไมโครเวฟ หรือ เครื่องทำน้ำอุ่น ให้เป็นระบบเครือข่าย

เพื่อนๆหลายคนอาจสงสัยว่า แล้วทำไมถึงมีอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าเหล่านั้น มาเกี่ยวด้วย เพราะดูแล้วมันไม่น่าจะนำมาต่อ เป็นเครือข่ายเข้ากับคอมพิวเตอร์ได้เลย

แนวคิดโฮมเน็ตเวิร์ก คือ การทำให้อุปกรณ์ทุกชิ้นภายในบ้าน สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกันได้ และสามารถรับคำสั่งจากระยะไกลได้ โดยมีคอมพิวเตอร์เป็นศูนย์กลาง พูดง่ายๆก็คือ ความพยายามที่จะทำให้เครื่องใช้ทุกอย่างในบ้านมีความฉลาด ซึ่งจะช่วยและอำนวยความสะดวกสบายให้กับผู้ใช้มากที่สุด
เราขอยกตัวอย่างเพื่อช่วยในการนึกภาพ ของโฮมเน็ตเวิร์กได้ชัดขึ้น เช่น ก้าวแรกที่คุณลุกขึ้นจากเตียงนอน ยืนบิดขี้เกียจไปมา ทันทีเจ้าวิทยุคู่ใจ ก็เริ่มบรรเลงเพลงโปรด ระหว่างที่คุณกำลังมีความสุข อยู่กับการแช่น้ำอุ่นๆ จากเครื่องทำน้ำอุ่น ในอ่างอาบน้ำ ที่เตรียมไว้พร้อมสรรพ ตู้เย็นก็จัดการส่งขนมปัง ไข่ และไส้กรอกไปยังเตาไมโครเวฟ เพื่อปรุงไว้พร้อมเสริฟในครัว แค่นี้ก็ทำให้การเริ่มวันใหม่ของคุณ เป็นไปอย่างราบรื่นและไม่ต้องรีบเร่ง

ฟังดูอาจเกินจริงไปบ้าง แต่ขอบอกว่าสิ่งเหล่านี้

เป็นแนวคิดของโฮมเน็ตเวิร์กนั่นเองค่ะ

การเรียนการสอนทางไกล

เพื่อนๆเคยดูโฆษณารึเปล่าคะ ที่เกี่ยวกับอะไรก็ไม่รู้แต่ว่ามีเรื่องที่นักเรียนตามต่างจังหวัดเขาเรียนหนังสือตามทีวีไม่ว่าจากการอัดวีดีโอแล้วมาเปิดหรือถ่ายทอดดาวเทียมก็ตาม เขาเรียกว่าครูตู้ค่ะ ตอนแรกเราก็ไม่รู้เหมือนกันว่าครูตู้คืออะไรแต่ดูไปหลายๆรอบก็พอจะเดาออก นี่แสงให้เห็นว่าระบบการศึกษานอกโรงเรียน เป็นสิ่งที่มีบทบาทสำคัญ และจำเป็นอย่างมากในประเทศกำลังพัฒนา ดังนั้นเลยเอาเรื่องนี้มาเขียนค่ะเพราะเห็นว่ามันน่าสนใจดี การกระจายเครือข่าย เพื่อสนับสนุนการศึกษา ด้วยรูปแบบการเรียนการสอน และสื่อการสอนที่มีประสิทธิภาพ กำลังได้รับการยอมรับมากที่สุด จากสถาบันการศึกษาคือ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีของอินเทอร์เน็ต ที่ในรูปของ Tele-Education หรือการเรียนการสอนทางไกล ความครอบคลุม และรวดเร็วของในการสื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ต ช่วยลดข้อจำกัดในการศึกษานอกสถานที่ เพราะไม่ว่าผู้เรียนจะอยู่ที่ใด ก็สามารถเรียนได้อย่างต่อเนื่อง ไม่มีข้อจำกัดในเรื่องของเวลา ขณะเดียวกันอินเทอร์เน็ต สามารถทำให้เกิดการโต้ตอบ ระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน เสมือนอยู่ในพื้นที่เดียวกัน ประเด็นสำคัญที่ลืมไม่ได้คือ การลดค่าใช้จ่ายในการเรียนรู้ ที่ต่ำกว่าการเรียนด้วยวิธีปกติ บทเรียนที่นักเรียนในโรงเรียนที่ชื่อเสียง สามารถใช้ร่วมกับนักเรียนในภูมิภาคต่างๆ โอกาสในการรับรู้ ไม่มีความแตกต่าง ช่องว่างของโอกาสในการเข้าถึงองค์ความรู้ ถูกย่นย่อให้แคบลงด้วยเทคโนโลยี รูปแบบของการเรียนการสอนทางไกล ที่ได้รับความนิยม ทำได้ทั้งการสร้างเครือข่ายการเรียนการสอน โดยมีศูนย์อยู่ในส่วนกลาง เพื่อผลิตเนื้อหาส่งผ่านอุปกรณ์ส่งสัญญาณ กระจายผ่านเครือข่ายเคเบิ้ลนำแสง หรือใช้ดาวเทียมยิงสัญญาณไปยังเครื่องรับทางไกลก็ได้ นอกจากนี้สามารถนำเอาห้องเรียนไปไว้บนอินเทอร์เน็ต โดยมีอินเทอร์เน็ตโปรโตคอล เป็นโครงสร้างพื้นฐานในการเรียน ใช้ซอฟต์แวร์ช่วยการสอนทางไกล ที่ทำให้เว็บเพจกลายเป็นแหล่งความรู้
การเรียนทางไกล ยังทำให้ผู้เรียนสามารถเลือกศึกษาวิชาที่มีความสนใจ และต้องการหาความรู้เพิ่มเติม จุดเด่นเฉพาะของระบบการเรียนทางไกล ที่มีการพัฒนาอย่างสมบรูณ์ โดยเชื่อมต่อกับระบบฐานข้อมูลกลาง สามารถให้นักเรียนกลับมาทบทวนบทเรียน หรือเรียนซ้ำ โดยไม่มีข้อจำกัดในเรื่องของเวลา การเริ่มต้นเพื่อเข้าสู่ระบบการเรียนทางไกล ควรเริ่มต้นการเลือกเนื้อหาวิชาที่ต้องการ หลังจากนั้นการเข้าเป็นสมาชิกของเครือข่าย เพียงมีเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่สามารถเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต หรือระบบเครือข่ายการสอนทางไกลบางแห่ง สามารถทำผ่านโทรทัศน์ ด้วยระบบดาวเทียมเท่านี้ ทั้งนักเรียน ครู และผู้ที่สนใจหาความรู้ทั่วไป ก็สามารถใช้ประโยชน์ จากการเรียนทางไกลได้อย่างไม่ยาก โหยกว่าจะเขียนจบ แทบแย่เลย อ่านทวนดูอีกที เราก็เขียนเรื่องวิชาการเก่งเหมือนกันนะเนี่ย(ความจริงมีบางส่วนที่ก๊อบมา)ฮิๆ

พลังงานไร้สาย เทคโนโลยีใหม่สำหรับอุปกรณ์อิเล็กโทรนิค

ในอนาคตอันใกล้นี้การชาร์จแบตเตอรี่โทรศัพท์มือถือ เครื่องคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์อิเล็กโทรนิคทั้งหลาย อาจเป็นเรื่องง่ายเหมือนกับการท่องเวปแบบไร้สาย ที่เขาเรียกกันว่าวายฟาย ประมาณนี้มั้ง มันเกิดมาจากคุณ Marin Soljacic ผู้ช่วยศาสตราจารย์แผนกการวิจัยและฟิสิกส์จาก MIT (Massachusetts Institute of Technology)เขาได้เขียนเล่าไว้ว่าตัวเขาลืมชาร์จแบตเตอรี่โทรศัพท์มือถือบ่อยๆครั้ง และก่อนที่แบตเตอรี่จะหมด มันจะส่งเสียงน่ารำคาญคอยเตือนทุกครั้ง (ของเราไม่เห็นเป็นอย่างนี้เลย)และบ่อยครั้งที่มันส่งเสียงร้องเตือนตอนกลางดึก และในคืนนึงที่มือถือของเค้าเริ่มส่งเสียงเตือนตอนเวลาตีสาม เค้าก็คิดขึ้นว่า “มันคงดีแน่ ถ้าอุปกรณ์เหล่านี้มันสามารถชาร์จตัวมันเองได้” และเค้าก็เลยเริ่มทำการรวบรวมทฤษฎีและข้อมูลทางฟิสิกส์ที่จะทำให้เค้าสามารถสร้างวิธีการส่งพลังงานแบบไร้สายนี้ได้พอถึงตรงนี้เราก็ไดอ่านแล้วก็ทำความเข้าใจอะไรๆที่มันเป็นหลักการของเรื่องนี้ว่าพวกนี้มันทำงานอย่างไรใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์อะไร ที่จริงมันก็หนักหัวไปบ้าง(ค่อนข้างมาก)แต่ก็จะเขียนเป็นภาษาง่ายๆให้เพื่อนๆเข้าใจกัน เพราะเราอ่านไป3-4รอบกว่าจะเข้าใจ มันมีอยู่ว่าเกือบสองร้อยกว่าปีแล้วที่นักวิทยาศาสตร์และวิศวกรก็รู้ว่าการจ่ายพลังงานไฟฟ้านั้น ขดลวดหรือสายไฟนั้นไม่จำเป็นต้องสัมผัสกัน มอเตอร์ไฟฟ้าและหม้อแปลงไฟฟ้านั้นประกอบด้วยขดลวด ซึ่งมีหน้าที่ในการถ่ายพลังงานให้แก่กันและเกิดปรากฏการณ์การเหนี่ยวนำคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า กระแสไฟฟ้าจากฝั่งที่ปล่อยพลังงาน จะดึงดูดกระแสจากขดลวดฝั่งรับพลังงาน ทำให้เกิดการถ่ายเทพลังงานระหว่างกัน จนเกิดเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าซึ่งเป็นคลื่นที่เคลื่อนที่โดยไม่อาศัยตัวกลาง ซึ่งขดลวดทั้งสองนี้ตั้งอยู่ในระยะที่ใกล้กัน แต่ไม่สัมผัสกัน ซึ่งคงเข้าใจนะเพราะเราเคยเรียนกันมาแล้วตอนม.3 ที่เขาทำการทดลองโดยนักวิทยาศาสตร์คนหนึ่งที่จริงเราก็จำชื่อไม่ได้แล้วล่ะ ที่จำได้คือผลจากการทดลองนี้เขาเอามาทำเป็นไดนาโม(มั้ง)หลังจากนั้น นักวิทยาศาสตร์ยังค้นพบคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในรูปแบบของคลื่นวิทยุ และพบว่า แสง คือ รูปแบบพลังงานอย่างนึงของคลื่นแม่เหล็กฟ้า ซึ่งเป็นพลังงานที่เราได้รับจากดวงอาทิตย์นั่นเอง แต่การถ่ายเทพลังงานจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งโดยวิธีการแผ่คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้านั้นยังไม่มีประสิทธิภาพนัก เนื่องจากลักษณะการถ่ายเทของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าคือแผ่กระจายรอบทิศ ซึ่งทำให้สูญเสียพลังงานจำนวนมากไปโดยเปล่าประโยชน์ Soljacic จึงนำหลักการของการเหนี่ยวนำระยะใกล้ (ไดนาโมนั่นแหละ)ที่เกิดขึ้นในหม้อแปลงไฟฟ้าหรืออุปกรณ์ที่มีลักษณะใกล้เคียงมาใช้แทนการแผ่คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าผ่านสิ่งแวดล้อมอื่นๆ ซึ่งการเหนี่ยวนำระยะใกล้นี้มีศักยภาพในการถ่ายเทพลังงานในระยะไกล อย่างเช่น จากมุมห้องนึงไปยังอีกมุมห้องนึงได้ โดยใช้เครื่องส่งสัญญาณแบบไร้รังสี บนสนามพลังแม่เหล็กไฟฟ้า ไปยังอุปกรณ์อิเล็กโทรนิคชนิดพิเศษที่ถูกออกแบบให้สะท้อนกับสนามแม่เหล็กได้ ซึ่งพลังงานที่จ่ายออกมาเกินอยู่จะถูกดูดกลับไปยังตัวจ่ายเอง ทำให้ไม่มีพลังงานค้างในบรรยากาศซึ่งผลลัพธ์ที่สำรวจได้ในขณะนี้พบว่า การถ่ายเทพลังงานแบบไร้สายนี้มีขอบเขตที่จำกัด โดยระยะทางที่ถ่ายเทพลังงานได้จะขึ้นอยู่กับขนาดของตัวรับสัญญาณ ยิ่งตัวรับสัญญาณมีขนาดใหญ่เท่าไหร่ ก็จะสามารถรับพลังงานได้ห่างจากแหล่งจ่ายพลังงานได้มากเท่านั้น และในการทดลองสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพานั้น มันสามารถชาร์จแบบเตอรี่ได้โดยตั้งในระยะห่างจากแหล่งจ่ายพลังงานประมาณ 2-3 เมตร ดังนั้นถ้าคุณวางแหล่งจ่ายพลังงานในทุกๆห้อง คุณก็จะสามารถชาร์จแบตเตอรี่ได้จากทุกมุมในบ้านของคุณโดยเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพาและโทรศัพท์มือถือจะเป็นอุปกรณ์ชนิดแรกที่จะถูกพัฒนาในเรื่องนี้ โดย Soljaic กล่าวว่า อุปกรณ์ชนิดอื่นๆในครัวเรือนก็จะสามารถใช้เทคโนโลยีนี้ได้เช่นกัน อย่างที่บ้านของเขา ก็มีหุ่นยนต์ดูดฝุ่นที่จะคอยทำความสะอาดพื้นห้องอย่างอัตโนมัติ ซึ่งมันทำงานได้อย่างยอดเยี่ยม แต่ติดตรงที่ข้อจำกัดที่ว่าเมื่อมันทำความสะอาดไปไม่เกินสองห้อง แบตเตอรี่ก็จะหมด และถ้ามันสามารถชาร์จตัวของมันเองได้ มันก็จะสามารถทำงานต่อไปได้ ยิ่งไปกว่านั้นเทคโนโลยีพลังงานไร้สายนี้ยังสามารถนำไปใช้กับโรงงานอุตสาหกรรมได้เช่นกัน
ข้อมูลเพื่มเติม: http://www.sciencedaily.com/releases/2006/11/061114190638.htm